วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

อาหารหน้าหนาว "บำรุงร่างกาย" สุขภาพดี

         ช่วงนี้เข้าหน้าหนาวแล้วอากาศเริ่มเย็น ดูแลสุขภาพกันหน่อยนะคะ หาเสื้อกันหนาว ผ้าพันคอสวยๆ เวลานอนก็ห่มผ้าหนาๆ ให้ร่างกายอบอุ่นนะคะ จะได้ไม่เจ็บป่วย และวันนี้เรามีเคล็ดลับอาหารบำรุงร่างกายในฤดูหนาวนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกๆ คนนะคะ 

        อาหารตามหลักการแพทย์แผนจีนในฤดูหนาวก็ คือ การรับประทานอาหารที่ช่วยให้ร่างกายมีความอบอุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยง่ายในช่วงอากาศหนาวๆ เช่น ไข้หวัด ดังนั้น เราจึงควรรักษาความสมดุลของร่างกายจากผลกระทบของลม อากาศหนาวและความชื้นด้วยอาหารประจำวัน เช่น การดื่มไวน์แดงหนึ่งแก้ว รับประทานกะหล่ำปลีม่วงหรือเนื้อแกะก็จะช่วยให้ภายในร่างกายอบอุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารอื่นๆ สู้ลมหนาวอีก เช่น กระเทียม ฟักทอง เนื้อสัตว์ ถั่ววอลนัต และผลไม้แห้ง
                1. อาหารเช้า
การรับประทานอาหารดิบๆ เช่น ผักดิบ ผลไม้ หรือผลไม้รสเปรี้ยว จะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเย็น ซึ่งย่อมไม่ดีต่อสุขภาพในฤดูหนาวเป็นแน่ โดยเฉพาะเมื่อมือเท้าเย็น ในตอนเช้าคุณควรเริ่มต้นอาหารเช้าด้วยการรับประทานอาหารอุ่นๆ เช่น ข้าวกล้อง หรือข้าวต้มธัญพืชร้อนๆ หรือโจ๊กข้าวโอ๊ต โดยการเติมถั่วและผลไม้ลงไปต้มด้วย ก็จะเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีในฤดูนี้
               2. อาหารกลางวัน
ควรเป็นอาหารที่ผ่านการหุงต้มร้อนๆ เพราะจะทำให้กระเพาะอาหารอบอุ่นและป้องกันหวัดได้ด้วย นอกจากนี้ ก็ควรเดิมวิตามินและเกลือแร่ให้ร่างกายด้วยผักชนิดต่างๆ เช่น ฟักทอง กะหล่ำขาว กะหล่ำม่วง แครอท มันฝรั่ง หรือมันเทศ และปรุงด้วยน้ำมันพืชกลั่นเย็น เช่น น้ำมันงา น้ำมันถั่ววอลนัต นอกจากนี้ ก็ควรรับประทานถั่วและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดงา เป็นต้น
               3. อาหารเย็น
ควรเป็นอาหารร้อนๆ เช่น จับฉ่ายจากผักหัวต่างๆ รับประทานกับข้าวกล้องหรือข้าวต้มก็ได้ เครื่องดื่มก็ควรเป็นเครื่องดื่มร้อนๆ โดยเฉพาะเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น น้ำตะไคร้ น้ำขิง หรือดื่มไวน์แดงสักหนึ่งแก้ว
               4. อาหารบำรุงร่างกายสู้ลมหนาว
     - ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต
     - ผัก เช่น กะหล่ำเขียว กะหล่ำม่วง ต้นกระเทียม ฟักทอง หัว         
  หอมใหญ่
     - เนื้่อสัตว์ เช่น เนื้อแกะ เนื้อไก่
     -เครื่องเทศ เช่น ยี่หร่า ต้นหอม กระเทียม อบเชย ก้านพลู
     - ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่ววอลนัต ถั่วฮาเซล ฯลฯ
     - ผลไม้แห้ง เช่น ลูกเกด อินทผาลัม ผลมะเดื่อ ฯลฯ


ที่มา : http://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2023&sub_id=18&ref_main_id=4

อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป


ขนมปังภาวะขาดแคลนขนมปังเริ่มกลายเป็นความจริงที่น่าตกใจ ตั้งแต่ปีที่แล้ว ราคาของธัญพืชทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว เนื่องจากความร้อน ความแห้งแล้ง และไฟป่าในรัสเซีย รวมทั้งอุทกภัยที่ออสเตรเลียด้วย ผลผลิตข้าวสาลีที่เสียหายเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นปัจจัยสำคัญของการปฏิวัติ “อาหรับสปริง” (ประชาชนประท้วงรัฐบาลที่ปล่อยให้ข้าวยากหมากแพง และขนมปังก็เป็นอาหารหลักของชาวอาหรับ) ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ผลกระทบของสภาวะอากาศต่อผลผลิตทั่วโลกถือว่าเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น อีก 20 ปีข้างหน้า ราคาขนมปังจะเพิ่มขึ้นถึง 90% และเพื่อเตรียมการต่อภาวะข้าวสาลีขาดตลาด บริษัทใหญ่อย่าง Glencore และ Cargrill จึงได้ตั้งเป้าผูกขาดตลาด เพื่อทำกำไรสูงสุดหากปริมาณข้าวสาลีทั่วโลกยังลดลงต่อเนื่อง
ช็อกโกแลตสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไม่เพียงแต่ทำให้น้ำแข็งเท่านั้นที่ละลาย ช็อกโกแลตที่รักของหลายๆ คนก็เช่นกัน อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 3 องศาก็ส่งผลให้เมล็ดโกโก้ในกานาและไอเวอรี่โคสต์ลดลงอย่างฮวบฮาบ ปรากฏการณ์นี้ส่งผลอย่างมากต่อประเทศแถบแอฟริกาซึ่งทำรายได้จากการขายโกโก้ (ขายดีขนาดเปรียบเปรยกันว่า ชาวบ้านสามารถเก็บเมล็ดโกโก้จากต้นแล้วไปแลกเป็นเงินสดได้ทันที) แต่โชคยังดีที่แม้วัตถุดิบช็อกโกแลตจะลดลง แต่มันก็ยังไม่หายไปเสียทีเดียว กลุ่มประเทศที่ปลูกต้นโกโก้อาจต้องย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปยังที่เหมาะสมกว่า สภาพอากาศเย็นกว่า ประมาณ 200 ไมล์จากชายฝั่ง และหากมองในแง่ดี ผลผลิตโกโก้ที่ลดลงอาจทำให้คุณภาพช็อกโกแลตดีขึ้นก็ได้
กาแฟถือเป็นอาหารที่หายากไปเรียบร้อยแล้วสำหรับกาแฟ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ วงจรฝนที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบกับทุกภูมิภาคที่ปลูกกาแฟ เช่น บราซิล เวียดนาม แอฟริกา สิ่งยืนยันว่าผลผลิตกาแฟลดลงเห็นได้จากราคากาแฟที่สูงขึ้นอย่างมาก ระหว่างปี 2010 ถึง 2011 ผู้ผลิตกาแฟในสหรัฐอเมริกาอย่าง Maxwell House และ Folgers ขึ้นราคากาแฟถึง 25%
เบอร์เบิ้นการผลิตเบอร์เบิ้นในมลรัฐเคนตักกี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศตามฤดูกาล สภาพอากาศและอุณหภูมิของโลกเปลี่ยนไป ส่งผลต่อรสชาติและสีสันของเบอร์เบิ้น เป็นสิ่งที่สามารถคาดการณ์ได้จากรูปแบบฤดูกาล และตามที่คาดการณ์ไว้ว่าใน 100 ปีข้างหน้า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้น 3 องศา ก็อาจทำให้มลรัฐเคนตักกี้ไม่สามารถผลิตเบอร์เบิ้นได้อีกเลย

น้ำผึ้งหนึ่งในตัวบ่งชี้ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็คือการตายของผึ้งเป็นจำนวนมาก และแน่นอนจำนวนผึ้งที่ลดลงย่อมทำให้สิ่งที่ผึ้งเท่านั้นผลิตได้อย่าง “น้ำผึ้ง” ลดลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม ของหวานชนิดนี้ไม่ได้หายไปเสียทีเดียว เพราะผึ้งถือเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ที่ปรับตัวกับโรคภัยไข้เจ็บได้ดี  เพราะฉะนั้น มันอาจจะปรับตัวกับอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนไปได้
ถั่วลิสงดูเหมือนว่าการผลิตถั่วลิสงจะได้ประโยชน์จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เพราะถั่วลิสงออกผลผลิตดีขึ้นเมื่อมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น แต่ทว่าในฤดูร้อนที่แห้งแล้งก็ทำให้ผลผลิตถั่วลดลงไปมาก การขาดแคลนถั่วลิสงยังหมายถึงเนยถั่วที่ลดลงด้วย ราคาเนยถั่วได้พุ่งสูงขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว แต่อย่างที่บอกว่าถั่วลิสงออกผลผลิตได้ดีในที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง จึงคาดการณ์กันว่าจะกลับมาเพาะปลูกได้อีกในปีหน้าที่อากาศเริ่มเย็นลง
 
อากาเว่
อากาเว่เป็นอาหารให้คาร์โบไฮเดรตตัวหลักของชาวเม็กซิกัน และเป็นวัตถุดิบผลิตเตกีล่าด้วย แต่ด้วยความแห้งแล้งในภาคเหนือของเม็กซิโกทำให้การทำเกษตรทุกประเภทได้รับผลกระทบ และรัฐบาลก็ถูกกดดันจากอเมริกาและยุโรปให้ปลูกข้าวโพดเพื่อผลิตเอทานอลแทน นั่นอาจหมายถึงเราจะมีเอทานอลเพิ่มขึ้นขณะที่เตกีล่าน้อยลงไวน์
อากาศที่ร้อนขึ้นในพื้นที่ปลูกองุ่นของแคลิฟอร์เนียอาจทำให้ปริมาณองุ่นลดลงถึง 50% จากที่เคยผลิตได้ในปี 2004 และพื้นที่อื่นๆ ของประเทศก็กำลังพบเจอกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นเช่นกัน การผลิตไวน์อาจจะต้องย้ายที่ เมืองฟิงเกอร์เลคที่ชานเมืองนิวยอร์กและพูเก็ตซาวนด์ในรัฐวอชิงตันอาจจะกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกไวน์แห่งใหม่ก็เป็นได้


ทักษะการวิ่ง...เพื่อสุขภาพ




1. เทคนิคในการวิ่ง


          การลงเท้าที่ถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บสำหรับนักวิ่งเพื่อสุขภาพ โดยส้นเท้าจะสัมผัสพื้นก่อน ทั้งฝ่าเท้าจึงจะตามลงมา และเมื่อปลายเท้าหมุนลงมาแตะพื้นก็เป็นจังหวะที่ส้นเท้าเปิดขึ้น ปลายเท้าก็จะคล้ายตะกุยดิน ถีบตัวเหมือนสปริงดีดตัวขึ้นบนและเคลื่อนไปข้างหน้า จุดที่เท้าสัมผัสพื้นควรตรงกับหัวเข่า งอเข่านิดๆ เท้าควรจะสัมผัสพื้นหลังจากที่ได้เหยียดออกไปข้างหน้า ส่วนอีกเท้าเหวี่ยงไปข้างหลัง ควรจะลงแตะพื้นเบา

2. ความหนัก ความนาน และความบ่อยของการวิ่ง

          ความหนักหรือความเร็ว ควรใช้ความเร็วที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยจนต้องหายใจแรง แต่ไม่ถึงกับต้องหายใจทางปากหรือมีอาการหอบ เมื่อวิ่งไปแล้ว 4 - 5 นาทีควรมีเหงื่อออก ยกเว้นในอากาศเย็นจัดอาจยังไม่มี แต่สามารถวิ่งต่อไปได้เกิน 10 นาที อาจใช้ความเร็วคงที่ตลอดระยะทาง หรือจะวิ่งเร็วสลับช้าบ้างก็ได้ แต่การวิ่งติดต่อกันโดยไม่หยุดถึง 10 นาทีเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนักสำหรับผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือวิ่งเป็นประจำอยู่ก่อน ฉะนั้นผู้ที่เริ่มวิ่งทุกคนจึงไม่ควรตั้งความหวังสำหรับการวิ่งครั้งแรก ว่าจะวิ่งให้ได้ตลอดมากกว่า 10 นาทีโดยไม่สลับด้วยการเดิน

 3. การอบอุ่นร่างกายก่อนวิ่งและการผ่อนคลายร่างกายหลังวิ่ง

          ก่อนและหลังวิ่งทุกครั้งควรอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายร่างกายประมาณ 4 - 5 นาที โดยวิ่งเหยาะๆ ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าที่ใช้วิ่งจริง พร้อมทำกายบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วย แต่บางครั้งร่างกายอ่อนแอ อาจอดนอนหรือเจ็บไข้ หรือวิ่งในขณะอากาศร้อนจัดและไม่ได้ทดแทนน้ำและเกลือแร่พอเพียง อาจเกิดอาการที่ส่อ สัญญาณเตือนอันตราย ขึ้นขณะวิ่งได้ เช่น อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้หรือหน้ามืดเป็นลม รู้สึกหายใจไม่ทันหรือหายใจไม่ออก ใจสั่น แน่นเจ็บตื้อบริเวณหน้าอกหรือลมออกหู หูตึงกว่าปรกติ มีบางรายอาจควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้